วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

สาระน่ารู้นกหงส์หยก




นกหงส์หยก

          นกหงส์หยก(Zebra Parakeet)
          ชื่อวิทยาศาสตร์ Melopsittacus Undulatus
          ชื่ออื่นที่ใช้เรียกคือ Shell Parrot, Zebra Parakeet, Warbling Grass Parakeet, Undulated Parrot

ประวัติและความเป็นมา

          ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของ Budgerigar นั้นอาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้าทั่วไปในออสเตรเลียปัจจุบันมักเรียกสั้นลงว่า บั๊ดจี้ส์ (Budgies) และ Parakeet ก่อนหน้ามีผู้เข้าใจ ว่านกนี้อยู่ในจำพวก Lovebird แต่ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่าเป็นคนละชนิดกัน ชื่อเรียก Budgerigar เป็นชื่อซึ่งเพี้ยนมาจากสำเนียงพื้นเมืองในออสเตรเลียที่เรียก ว่าBetcherrygah แปลว่าอาหารดี หรือกินอร่อย บุคคลแรกที่ได้ศึกษาและนำเรื่องราวในฐานะเป็นนกใหม่ เป็นนักสัตวศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ กูลด์ (Gould) ซึ่งได้เข้าไปศึกษาชีวิตการเป็นอยู่ของสัตว์ต่างๆ ในออสเตรเลีย เมื่อ 110 ปีที่แล้ว

ชนิดและสีของนกหงส์หยก สีขั้นพื้นฐานในปัจจุบันของนกหงส์หยกชนิดธรรมดาได้แก่ สีเขียว(Green) สีฟ้า(Blue) สีเหลือง(Yellow) และขาว สีที่กล่าวมาแต่ละสีมีชื่อเรียกแยกออกไปตามความอ่อนแก่ของ สี โดยแยกเป็นน้ำหนักสีคือ อ่อน , กลาง และ แก่


การเลี้ยงดู

          นกหงส์หยกสามารถเลี้ยงดูได้ง่าย ส่วนมากนิยมเลี้ยงกันในกรงขนาดใหญ่พอที่ นกสามารถบินได้ และต้องมีขนาดให้พอเหมาะกับจำนวนของนกด้วย ตำแหน่งการตั้งกรงนั้นไม่ควร ตั้งไว้ในที่ๆมีอากาศร้อน หรือที่มีลมโกรกมาก ควรไว้ในที่ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก อาหารและน้ำของต้องมีให้นกกินทุกวัน และควรเปลี่ยนอาหารและน้ำทุกวัน เพราะถ้าไม่เปลี่ยนอาจเป็นแหล่งเพราะโรค ของนกได้

          โดยธรรมชาติ นกหงส์หยกจะอยู่รวมกันเป็นฝูง ฉะนั้นถ้าเลี้ยงรวมในกรงใหญ่ เครื่องเล่นต่างๆอาจ ไม่จำเป็น แต่ถ้าเลี้ยงเพียงตัวเดียวหรือคู่เดียว เครื่องเล่นต่างๆก็ไม่อาจมองข้าม นอกจากอุปกรณ์เช่น ถ้วย หรือจานสำหรับใส่อาหาร น้ำ ผัก ทราย ที่ทุกกรงจะขาดไม่ได้และควรมี  Clofood (อาหารที่มีส่วนผสมของขนมปัง ไข่ และธาตุที่มีประโยชน์อื่นๆ)
นกหงส์หยกตาแดง
                         นอกจากสีธรรมดาดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีอีก 3 ชนิดที่ควรทราบคือ

           โอแพล์ลิน (Opaline) ชนิดสีนี้มิได้กล่าวเจาะจงว่าเป็นสีใดโดยเฉพาะ แต่จะมีลักษณะเป็น ที่สังเกตุดังนี้ บนคอ ใต้คอ และตรงขอบปีกติดกับไหล่จะไม่มีลายหรือจุด และจะต้องมีสีเหมือนกับ สีของลำตัว สีพื้นของปีก(มีลาย) ก็มีสีประมาณเป็นสีเดียวกับลำตัวเช่นเดียวกัน (นกชนิดธรรมดา ตัวเขียวจะมีหัวเหลือง ใต้คอเหลือง มัจุด 6 จุด และพื้นปีกก็เป็นสีเหลือง)

          เผือก อัลบิโนส์ (Albinos) ลักษณะที่สังเกตคือ สีตลอดตัวจะประมาณได้เป็นสีเดียว เริ่ม ตั้งแต่ขาวปลอดทั้งตัวหรือมีสีค่อนไปทางสีฟ้า

          ลูติโนส์ (Lutinos)เป็นนกที่มีสีเหลืองปลอด หรือมีสีค่อนไปทางเขียวทั้ง 2 ชนิด คือขาว และเหลืองนี้ ลักษณะสำคัญที่เห็นได้ชัดคือต้องมี นัยน์ตาสีแดง


        

 



การดูเพศนก

          การดูเพศของนกนั้นไม่ยากเลย สามารถที่จะสังเกตได้ ไม่ยาก โดยดูที่จมูกของนก ในนกตัวผู้เมื่อเจริญเต็มที่หรือพร้อมที่จะผสมพันธุ์ จมูกนกจะเป็นสีฟ้าเข้ม และในนกตัวเมียนั้นจมูกของนกเมื่อเจริญเต็มที่หรือพร้อมที่จะผสมพันธุ์ จมูกของนกจะมีสีออกเป็นสีเนื้อหรือสีน้ำตาลเข้ม สีดังกล่าวจะ เข้มขึ้นเรื่อยๆเมื่ออยู่ในระยะผสมพันธุ์


          นกหงษ์หยกจะจับคู่เมื่อมันพร้อมที่จะผสมพันธุ์ โดยสังเกตได้จาก นกอยู่กันเป็นคู่ ไซร้ขนให้กัน จะคอยป้อนอาหารให้กัน


อาหารของนกหงส์หยก

          ข้าวฟ้าง คืออาหารหลักของนกหงษ์หยก ซื้อได้ตามร้านค้าทั้วไปปัจจุบันอยู่ที่ ราคาประมาณ ถุงละ 20 บาท เป็นเมล็ดพืชเมล็ดเล็กๆ ควรซื้อแบบที่แบ่งขายใส่ถุง มากกว่า เพราะจะทำให้อาหารดูสด และป้องกันฝุ่นได้

          เมล็ดกวด แคลเซียม(กระดอง ปลาหมึก) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับนกเลยทีเดียว จากประสบการณ์ของผู้เขียน คิดว่าสำคัญมากเพราะเมล็ดกวดหรือแคลเซียม(กระดองปลาหมึก)จะช่วยย่อยอาหาร ในลูกนกถ้าขาดของพวกนี้อาจจะมีอาการผิดปกติ ไม่แข็งแรง หรือตายได้ เมล็ดกรวด อาจจะนำมาจากทรายก็ได้แต่ควรล้างด้วยน้ำสะอาดเสียก่อน แคลเซียม(กระดองปลาหมึก) อาจจะหาซื้อได้ในร้านที่ขายนกร้านใหญ่ หรืออาจจะหาซื้อได้ที่ตลาดนัดสวนจตุจักร ราคาไม่หน้าแพงมาก ขายอยู่ที่ราคาประมาณ อันละ 5 บาทซึ่งมีขนาดใหญ่

          ผักใบเขียว เป็นตัวบำรุง นกที่สำคัญ เช่น กระหล่ำดอก คะน้า ผักกาดเขียว ผักบุ้ง เป็นต้น และต้องล้างให้สะอาดด้วยเพื่อป้องกันยาฆ่าแมลง

          น้ำ เป็น สิ่งสำคัญที่สุด ที่นกจะขาดไม่ได้เลย ควรเปลี่ยนน้ำทุกวัน เพราะถ้านกที่เป็นโรคขี้ลงไปอาจทำให้เป็นที่เพาะเชื้อโรค ถ้านกตัวอื่นกินเข้าไปอาจพากันติดกันหมดทั้งกรงได้

สาระน่ารู้นกค๊อกคาเทล




 


นกคอกคาเทล (อังกฤษ: Cockatiel; ชื่อวิทยาศาสตร์: Nymphicus hollandicus)

นกปากขอขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกกระตั้ว (Cacatuidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Nymphicusและนับเป็นชนิดที่เล็กที่สุดในวงศ์นี้มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ตัวผู้มีลำตัวเป็นสีเทา ๆ ปีกจะเป็นแถบสีขาว หัวเป็นสีเหลืองอ่อน มีหงอนยาวสูงขึ้นมาที่แก้ม มีหย่อมสีส้มเด่นชัดปากเป็นสีเทา ตัวเมียมีลักษณะคล้ายกับตัวผู้ แต่หัวจะเป็นสีเหลืองอมเทา สีส้มที่แก้มไม่เด่นชัดนัก และหางจะเป็นสีเหลืองมีลายขีดสีเทาขวางอยู่


มีถิ่นกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศออสเตรเลีย มักอาศัยอยู่ตามทุ่งโล่งใกล้ ๆ กับแหล่งน้ำที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน ห่างจากชายฝั่งทะเล มักจะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หรือเป็นคู่ ๆ ขณะบินจะเกิดเสียงจนสามารถได้ยิน กินอาหารได้แก่ เมล็ดหญ้า, เมล็ดพืชล้มลุก, ผลไม้ และลูกไม้ขนาดเล็ก
นกคอกคาเทล ก็เหมือนนกปากขอหรือนกกระตั้วชนิดอื่นทั่วไป ที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง ปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์ จนได้สายพันธุ์ที่มีสีสันและลวดลายสวยงามกว่้านกที่มีอยู่ในธรรมชาติแท้ ๆ

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

สาระน่ารู้นกแก้วซันคอนัวร์




นกแก้วซันคอนัวร์ (Conure)

นกคอนัวร์ (Conure) เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของ นกแก้ว ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบละตินอเมริกา จากเม็กซิโกลงมาถึงหมู่เกาะคาริบเบียนและชิลีใต้ นกคอนัวร์ พันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดคือ พาทาโกเนี่ยน มีความยาวประมาณ 17.5 นิ้ว และ นกคอนัวร์ พันธุ์ที่เล็กที่สุดคือ เพ้นท์เท็ต มีความยาวประมาณ 8.5 นิ้ว โดย นกคอนัวร์ เป็นนกที่รักความสงบและอยู่กันเป็นฝูงใหญ่          ทั้งนี้ คำว่า conure (คอนัวร์) มาจากคำว่า Conurus (คอนูรัส) นกคอนัวร์ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Aratinga (อาราทิงก้า) นกคอนัวร์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Aratinga และ Pyrrhura

          Aratinga จะ มีสีสันสดใส เช่น สีเขียว สีแดง ที่ดูมีชีวิตชีวา ได้แก่ สายพันธุ์ ซันคอนัวร์(Sun conure) บลูคราวน์(Blue-crowned conure) เจนเดย์(Jenday conure)

          Pyrrhura จะ มีสีสันที่เข้มขึ้น เช่น สีเขียวแก่ น้ำตาลเข้ม และ Aratinga จะไม่มีสีอ่อน ๆ ที่ขึ้นอยู่ตามอกหรือคอ และแก้มอย่าง Pyrrhura ได้แก่ สายพันธุ์ แบล็คแค็พ (Black-capped conure) เพ้นท์เท็ด (Painted conure)

 อุปนิสัยของ นกคอนัวร์ ที่พบบ่อย





          นิสัยเรียกร้องความสนใจ เมื่อ นกคอนัวร์ รู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวแล้วในตอนเช้าเมื่อคุณตื่นแล้วคุณ อาจได้ยินเสียงพองขน เล่นของเล่น หรือเสียงบ่นเบาๆ มาจากกรงของเจ้าคอนัวร์

          การอาบน้ำ นกคอนัวร์ รักการอาบน้ำเป็นชีวิตจิตใจ เราควรอาบให้นกตอนเช้าด้วยน้ำอุ่น เพื่อให้ขนแห้งได้ทันเวลาที่นกจะเข้านอน

          การขบฟัน นกคอนัวร์ จะขบฟันช่วงที่มันใกล้จะหลับ การขบฟันในนกถือเป็นเรื่องธรรมชาติของนก

          การเช็ดปาก หลังมื้ออาหารทุกมื้อ นกคอนัวร์ จะเช็ดปากของมันกับคอนที่มันเกาะ หรือแขนเสื้อของคุณขณะที่มันเกาะอยู่

           กายกรรมแบบนก ๆ กิริยาที่ นกคอนัวร์ ทำคล้ายกับการบิดขี้เกียจ ยืดแข้งยืดขา ซึ่งถือเป็นปกติธรรมดาของนก

          การกัด เป็น การแสดงสัญชาตญาณการอยู่ร่วมกันของ นกคอนัวร์ ที่อาศัยอยู่ในป่า การกัดของมันตามลำพังแสดงว่ามันกำลังทดสอบสิ่งรอบ ๆ ตัวของมันอยู่

          การนอนกลางวัน การนอนกลางวันเป็นการงีบหลับ นกคอนัวร์ จะงีบหลับไปบ้าง ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงส่อไปทางเจ็บป่วย ก็ไม่ต้องกังวลกับการงีบหลับของนก

          การเคี้ยว นกคอนัวร์ ชอบที่จะขบเคี้ยว กัดแทะ สิ่งต่างๆรอบตัวเสมอ ซึ่งผู้เลี้ยงต้องมีของเล่นให้นกได้เคี้ยวตลอดเวลา







          การจ้องมองของนก เมื่อ นกคอนัวร์ เห็นอะไรที่ทำให้เกิดความตื่นเต้นหรือสนใจ รูม่านตาของมันจะเบิกกว้างและหดตัวขึ้นและลง

           การพองขน เป็นการคลายความตึงเครียดของ นกคอนัวร์ แต่ถ้ามันพองขนตลอดเวลานั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนได้ว่านกกำลังเจ็บป่วย

          การไซร้ขนให้กันและกัน เป็นนิสัยของ นกคอนัวร์ ที่จะทำให้คู่ของมันหรือเพื่อนนกที่สนิทกันเท่านั้น

          การจับคู่ นกจะจับคู่กันไม่ว่าจะเป็นเพศเดียวกันหรือไม่ มันจะไซร้ขนให้กัน เลียนแบบท่าทางของคู่มันตลอดเวลา

          ความรู้สึกเป็นเจ้าของ จะแสดงออกถึงการหวงเจ้าของมัน มันมักจะกัด และ ขู่ตัวอื่น

          การไซร้ขน เป็นกิจวัตรประจำของมันซึ่งจะทำร่วมกับการพองขน และมีการจิกขนตัวเองในช่วงนี้สำหรับฤดูผลัดขน

          การสำรอกอาหาร กิริยาของนกที่จ้องบางอย่างแล้วขณะเดียวกันก็ผงกหัวด้วย นั้นคือมันจะสำรอกอาหารให้กับคู่หรือลูกของมัน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความรักอันยิ่งใหญ่

          การยืนพักขาเดียว การที่นกยืนขาเดียวถือเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ถ้าคุณเห็นนกยืน 2 ขา ตลอดเวลา คุณควรจะนำนกไปหาสัตวแพทย์เพราะอาการดังกล่าวเป็นสัญญาณของสุขภาพที่ไม่แข็ง แรง

          การกรีดร้อง นก คอนัวร์ จัดว่าเป็นนกที่มีเสียงดัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนกรู้สึกว่ามันถูกทอดทิ้งและเจ้าของไม่มีเวลาให้นกจะ ยิ่งส่งเสียงร้อง บางครั้ง นกคอนัวร์ ก็ถือเป็นนกขี้เหงาและต้องการให้เจ้าของให้ความมั่นใจกับมันว่ามันไม่ได้ อยู่ตัวเดียว นกคอนัวร์จะร้องส่งเสียงเพื่อที่จะดูว่าคนในบ้านไปไหนกันหมดทิ้งมันไว้ตัว เดียวหรือเปล่า เจ้าของสามารถให้ความมั่นใจกับนกได้โดยการขานรับ บางขณะนกจะร้องเมื่อมีบางสิ่งบางอย่างในสภาพแวดล้อมทำให้มันตกใจกลัว ในกรณีนี้คุณจำเป็นต้องใช้เวลากับนกและลดความกลัวในตัวนกลง นกจะส่งเสียงกรีดร้องตามสัญชาติญาณเพื่อปกป้องฝูงของมันด้วย เมื่อนกรู้สึกเหนื่อยจะมีอาการหงุดหงิด และบางครั้งจะส่งเสียงร้องกรณีนี้เราควรจะคลุมกรงของมัน เพื่อให้มันสงบลงและปรับตัวเพื่อจะเข้านอนเร็วขึ้น





           การนอน นก คอนัวร์ มักจะชอบมุดไปขดตัวนอนอยู่ใต้ผ้าหรือเศษไม้ที่เราใส่ไว้ในกล่องนอน และบางครั้งมันก็จะนอนหงายหลับไปในถ้วยอาหาร เพื่อให้นกได้พักผ่อนอย่างสบาย ควรหาเศษผ้าหรือตุ๊กตานุ่ม ๆ มาใส่ไว้ให้นก การนอนหงายในลักษณะเท้าชี้ฟ้าถือเป็นเรื่องธรรมชาติสำหรับคอนัวร์และก็เป็น ท่าที่แสนสบายสำหรับมันด้วย

          การจาม การจามในนกมาจากสองสาเหตุ สาเหตุแรกคือ การจามเพื่อให้จมูกโล่ง บางครั้งมันยังจะใช้นิ้วใส่เข้าไปในรูจมูก เพื่อให้เกิดอาการระคายเคืองและจามออกมา จามแบบที่สอง เนื่องมาจากนกเป็นหวัดในกรณีนี้การจามในแต่ละครั้งจะมีน้ำมูกและทำให้รูจมูก เปียก ถ้านกเป็นในกรณีที่สองนี้ควรนำนกเข้าพบสัตวแพทย์ทันที

          ความเครียด ความเครียดนกจะมีอาการตัวสั่น ท้องร่วงหายใจเร็วสั่นหางและปีก จิกขนตัวเอง นอนไม่หลับ และไม่เจริญอาหาร นกในตระกูลนกปากขอชอบที่จะมีกิจวัตรประจำวันและไม่ชอบการเปลื่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการเปลื่ยนแปลงในบรรยากาศรอบตัวหรือตารางเวลาของการใช้ชีวิต ประจำวัน แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องเปลื่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างควรจะพูดกับนกของคุณก่อน อาจจะฟังดูเหมือนบ้าแต่การกระทำดังกล่าวจะช่วยให้นกไม่เกิดความเครียดจนเกิน ไป







          การลิ้มลองของ นกคอนัวร์ จะสำรวจสิ่งรอบๆ ตัวด้วยปากมากพอ ๆ กับที่เราใช้มือ และไม่ต้องแปลกใจถ้านกของคุณจะใช้ปากและลิ้นกัดดูที่มือของคุณก่อนที่จะปีน ขึ้นมาเกาะในครั้งแรก นกไม่ได้ตั้งใจที่จะกัดคุณแต่มันกำลังสำรวจ

          การใช้เสียง นกในตระกูลนกปากขอ โดยส่วนใหญ่จะส่งเสียงร้องช่วงพระอาทิตย์ขึ้นและตกของทุก ๆ วัน

          การหาว ผู้เชี่ยวชาญบางคนอาจเชื่อว่านกขาดออกซิเจนในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญอีกคนกล่าว ว่านกแค่หาวและบิดขี้เกียจ บริหารกล้ามเนื้อเท่านั้น ในกรณีที่คุณไม่เห็นว่านกมีท่าทางไม่สบาย (อาเจียน สำรอกอาหาร) คุณก็คงไม่ต้องเป็นห่วงจนเกินไป

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

สาระน่ารู้นกแก้วเทาแอฟริกันเกรย์




                                          นกแก้วเทาแอฟริกันเกรย์
ชื่อสามัญ : African gray parrot
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psittacus erithacus
ลักษณะ : จงอยปากโค้งสีเทาดำ ขนตามลำตัว สีเทา ขนบริเวณคอและอก มีรอยขวางลักษณะเป็นเกล็ด ขนหางสีแดง
ไม่สามารถแยกเพศได้จากการดูลักษณะภายนอก ความยาวจากปลายปากถึงหาง 33-41 เซนติเมตร น้ำหนัก 450-550 กรัม
ถิ่นอาศัย : พบในป่าดงดุบชื้น ทุ่งหญ้าและป่าโปร่งซาวันน่า เป็นนกพื้นเมืองของแอฟริกากลางและตะวันตก

นิสัย : ในป่าอยู่กันเป็นฝูงใหญ่ นำมาเป็นนกเลี้ยงตามบ้านเป็นเวลานานแล้ว เป็นนกที่ฉลาด เรียนรู้ที่จะเลียนเสียงเป็น
ภาษาคนได้
อาหาร : กินผลไม้และเมล็ดพืชเป็นอาหาร


การสืบพันธุ์: ทำรังตามโพรงต้นไม้ ในรังมีไข่ 3-5 ฟอง ตัวมันเป็นตัวกกไข่ ตัวผู้นำอาหารมาป้อนตัวเมีย ใช้เวลาฟักไข่
นาน 30 วัน